รีวิวผู้ให้บริการ Logistics และ Fulfillment สำหรับธุรกิจ E-Commerce
ปัจจุบันคงต้องยอมรับว่า บริการ Logistics & Fullfillment ในไทยนั้นมีตัวเลือกมากมาย แต่จะเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ธุรกิจที่สุดนั้น ด้วยความที่ผมคลุกคลีกับธุรกิจ e-commerce มาพอสมควรจึงอยากแชร์มุมมอง (ส่วนตัว) ในการใช้งานผู้ให้บริการรายต่างๆ ในตลาดไทยมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนทำธุรกิจ e-commerce บ้างไม่มากก็น้อยครับ
Next Day Delivery
1. ไปรษณีย์ไทย
ไปรษณีย์ไทยจัดว่าเป็นผู้ให้บริการรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนสาขาเยอะที่สุด และรู้เส้นทางดีที่สุด แถมยังมีผู้บริโภคไว้วางใจใช้งานอยู่ไม่น้อย
พื้นที่ให้บริการ : คลอบคลุมทั่วประเทศ
การคิดค่าบริการ : คิดจากน้ำหนักเท่านั้น
วงเงินประกันสินค้า : EMS ประกันสินค้าไม่เกิน 1,000 บาท หรือ ตามจริง
วงเงินประกันสินค้า : ลงทะเบียน ประกันสินค้าไม่เกิน 300 บาท หรือ ตามจริง
*ไปรษณีย์จะขอเอกสารใบเสร็จ และภาพความเสียหายเพื่อจะพิจารณาว่า จะคืนเงินให้ตามจริงหรือไม่เกินที่กำหนดครับ
ระยะเวลาการขอเคลมค่าสินค้า : 2-4 เดือน
บริการเก็บเงินปลายทาง : N/A
API สำหรับเชื่อมต่อระบบ : ไม่มี
Shop/Agent : มี
บริการรับสินค้าถึงต้นทาง : ไม่มี
สิ่งที่เจอจากประสบการณ์ของผู้เขียน
– สินค้าตกค้าง
– ไม่อัพเดตสถานะพัสดุ
2. Kerry Express
Kerry Express เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการที่เติบโตอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน โดยปัจจุบันมีสาขา parcel shop มากมายให้ได้ส่งของกัน โดยเลือกดูได้ที่ https://th.kerryexpress.com/th/where-we-are/
พื้นที่ให้บริการ : คลอบคลุมทั่วประเทศ
การคิดค่าบริการ : น้ำหนัก, ขนาดกล่อง และ จุดหมายปลายทาง แบ่งจุดหมายปลายทางเป็นกรุงเทพและปริมณฑล
วงเงินประกันสินค้า : ไม่เกิน 2,000 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
ระยะเวลาการขอเคลมค่าสินค้า : ไม่เกิน 15 วัน
บริการเก็บเงินปลายทาง : มีทั้งรับเงินสด, บัตรเครดิตและ rabbit LinePay คิดค่าธรรมเนียม 3%
API สำหรับเชื่อมต่อระบบ : มี
Shop/Agent : มี
บริการรับสินค้าถึงต้นทาง : 9.00 – 17.00 (สำหรับ B2B ที่ติดต่อกับส่วนกลางเท่านั้น)
สิ่งที่เจอจากประสบการณ์ของผู้เขียน
– ยังไม่ได้ใช้บริการในปริมาณมากนัก ไม่สามารถให้ความเห็นได้
3. DHL Express
พื้นที่ให้บริการ : คลอบคลุมทั่วประเทศ
การคิดค่าบริการ : น้ำหนัก, ขนาดกล่อง และ จุดหมายปลายทาง แบ่งจุดหมายปลายทางเป็นกรุงเทพและปริมณฑล
Price : non-Disclosure
Note : DHL จะทำการจัดส่งเป็นเฉพาะ Bangkok และ UPC1 ตามตาราง region ด้านล่าง UPC2 จะเป็นบริการโดยไปรษณีย์ไทย
วงเงินประกันสินค้า : ไม่เกิน 2,000 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
ระยะเวลาการขอเคลมค่าสินค้า : ไม่เกิน 15 วัน
บริการเก็บเงินปลายทาง : N/A
API สำหรับเชื่อมต่อระบบ : N/A
Shop/Agent : มี
บริการรับสินค้าถึงต้นทาง : ไม่มีข้อมูลเวลาเข้ารับบริการ (free if volume > 20 parcels)
สิ่งที่เจอจากประสบการณ์ของผู้เขียน
– ยังไม่ได้ใช้บริการในปริมาณมากนัก ไม่สามารถให้ความเห็นได้
4. Alphafast
พื้นที่ให้บริการ : เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น
การคิดค่าบริการ : ขนาดกล่องเท่านั้น
วงเงินประกันสินค้า : ไม่เกิน 2,000 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
ระยะเวลาการขอเคลมค่าสินค้า : ไม่เกิน 15 วัน
บริการเก็บเงินปลายทาง : 2.0% สำหรับเงินสด และ 2.9% สำหรับบัตรเครดิต
API สำหรับเชื่อมต่อระบบ : มี
Shop/Agent : ไม่มี
บริการรับสินค้าถึงต้นทาง : 08.00-21.00น. (ฟรี 3 ชิ้นขึ้นไป)
สิ่งที่เจอจากประสบการณ์ของผู้เขียน
– Support Service รวดเร็ว แก้ปัญหาได้ทันใจ
– ความคลาดเคลื่อนในการนัดหมายลูกค้า ทำให้สินค้าต้องนำมาจัดส่งซ้ำในวันถัดไป- มีปัญหาการเก็บข้อมูลผู้รับ
– บางครั้งผู้รับคนเดิมๆ ก็ยังต้องติดต่อสอบถามทางอยู่เสมอ
5. SCG Express
นับเป็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ที่สุด แต่เป็นความร่วมมือระหว่างสองยักษ์ใหญ่ SCG และบริษัท Yamato Asia ที่มีสัญลักษณ์เป็นแมวดำคาบลูก
พื้นที่ให้บริการ : เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น
การคิดค่าบริการ : ขนาดกล่องเท่านั้น
วงเงินประกันสินค้า : ไม่เกิน 3,000 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
ระยะเวลาการขอเคลมค่าสินค้า : ไม่เกิน 15 วัน
บริการเก็บเงินปลายทาง : มีทั้งรับเงินสดและบัตรเครดิต (เร็วๆนี้) คิดค่าธรรมเนียม 3%
API สำหรับเชื่อมต่อระบบ : มี
Shop/Agent : มี
บริการรับสินค้าถึงต้นทาง : (ฟรี 3 ชิ้นขึ้นไป)
อีกหนึ่งบริการที่โดดเด่นและน่าสนใจมากของ SCG Express คือ บริการขนส่งสินค้าแบบ Chilled และ Frozen รวมไปถึงการจัดส่งผลผลิตทางเกษตร ซึ่งเป็นรายเดียวในตลาดที่บริการใน Segment นี้
– ยังไม่ได้ใช้บริการในปริมาณมากนัก ไม่สามารถให้ความเห็นได้
Shippop
Shippop เป็นบริการ Logistics Hub และรวบรวมเครื่องมือต่างๆ เกี่ยวกับการขนส่งทำให้เรื่องขนส่งเป็นเรื่องง่ายๆ คุณสมบัติของ Shippop ที่โดดเด่นและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ หลักๆ มีดังนี้ครับ
มี API ให้ใช้งาน
ธุรกิจใครที่มี Backoffice ของตัวเองอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อ API เพื่อใช้งานระบบขนส่งผ่าน Backoffice ของตนเองได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
Tracking code Generation – เป็นบริการจองขนส่ง (สามารถออกเลข Tracking ตั้งแต่ก่อนจัดส่ง) โดยจะสร้างรายการขนส่งบนเว็บไซต์, upload เป็น Excel หรือว่าใช้งานผ่าน API ก็ได้ เมื่อได้เลข Tracking Code ตั้งแต่ก่อนส่งพัสดุ ก็ทำให้สะดวกต่อการสื่อสารกับลูกค้าและไม่ต้องไปรอคิวหน้าเคาเตอร์ปกติ
พิมพ์ใบปะหน้า
เมื่อมีรายการขนส่งเรียบร้อยแล้วก็สามารถสั่งพิมพ์ใบปะหน้าได้อย่างง่าย จัดตำแหน่ง ใส่ logo สบายเลย
Report
มี Report ให้ดูเป็นรายวัน, รายเดือน ชำระเงินเป็นรอบๆ สะดวกในการคุมค่าขนส่ง ตรวจสอบง่ายไม่รั่วไหล
นอกจากนั้นยังมีขนส่งหลายเจ้าให้เลือกใช้ เพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการ รวมถึงมีบริการของ Skootar ซึ่งเป็น On-Demand Delivery ซึ่งจะพูดถึงใน [ตอนที่ 2] ด้วยนะครับ ^^
ส่วนตัวผมใช้บริการขนส่งทุกรายผ่าน Shippop เพื่อให้ Shippop เป็นผู้ช่วยในการบริหารจัดการเรื่องขนส่งให้กับธุรกิจ แว่วๆ มาว่า SCG ก็กำลังเชื่อมต่อกับ Shippop เช่นกัน
สิ่งที่เจอจากประสบการณ์ของผู้เขียน
– Support Service รวดเร็ว แก้ปัญหาได้ทันใจดีครับ
จบ Part 1
editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จาก Pakorn Leesakul (AJ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท Finema ซึ่งมีประสบการณ์ด้าน Enterprise Solution กว่า 10 ปี รวมถึงการผ่านงานด้าน Business Development ที่บริษัท Paysbuy และ Omise